Back to home
Editor's picks, HOME, IDEAS FOR HOME

5 เคล็ดลับดูแลเครื่องปรับอากาศให้เย็นฉ่ำ รับฤดูร้อน

อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อนที่มีอากาศร้อนมากเกือบทุกฤดู การติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านจึงค่อนข้างจำเป็นกับการอยู่อาศัย แต่ก็ใช่ว่าติดตั้งแล้วจะจบไป เพราะเครื่องปรับอากาศก็ต้องได้รับการดูแลเช่นกัน ไม่เช่นนั้นอาจเจอปัญหาเครื่องปรับอากาศที่บ้านไม่เย็นเท่าที่ควร ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะ Life and Home มีเคล็ดลับดีๆ ช่วยให้เครื่องปรับอากาศเย็นฉ่ำ ทันใจ ต้อนรับฤดูร้อนมาฝากค่ะ

เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลเครื่องปรับอากาศต้อนรับฤดูร้อน


1. ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ


ในช่วงเดือนที่อากาศร้อนที่สุดของปีก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้นกว่าฤดูอื่น เนื่องด้วยการใช้งานหนักจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น เพราะตลอดการทำงานของเครื่องปรับอากาศทำให้เกิดการไหลเวียนของลมตลอดเวลา และในปัจจุบันที่มีปริมาณฝุ่นในอากาศจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นตัวขวางทางเดินอากาศในเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งยังเป็นตัวขวางความเย็นจากตัวเครื่องอีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องล้างเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือน หากอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นเยอะ ควรปรับมาเป็นทุก 4 เดือน และยังควรถอดแผ่นกรองอากาศมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ และเป่าให้แห้งด้วยไดร์เป่าผมแบบลมเย็นเพื่อช่วยถนอมการทำงานเครื่องปรับอากาศที่บ้านให้มีการใช้งานที่คงทนมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศไม่ได้มีแค่ช่วยให้เครื่องทำงานได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศ รวมถึงฝุ่นละอองต่างๆ ที่สะสมอยู่ในชั้นกรองอากาศ, ช่วยให้พัดลมแอร์ทำงานได้เร็วมากขึ้น และลดการหยดของน้ำแอร์อีกด้วย


2. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะกับห้อง


แม้ว่าเมืองไทยจะเป็นเมืองร้อนแต่การเปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาก็ไม่อาจช่วยให้ห้องเย็นขึ้นเท่าไหร่ รวมถึงยังเป็นเหตุให้ค่าไฟแพงมากขึ้นอีกด้วย เพราะอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเครื่องปรับอากาศนั้นอยู่ที่ 25 องศา ซึ่งช่วยให้ห้องเย็นสบาย และยังประหยัดไฟมากกว่าอุณหภูมิอื่น แต่ถ้าหากต้องการให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นเร็วมากขึ้นก็สามารถเลือกเปลี่ยนโหมดได้ โดยมีอยู่ 3 โหมดด้วยกัน คือ Auto, Cool, Dry, Fan และในบางรุ่นก็อาจจะมี Smart Saving Mode เพิ่มเข้ามาอีกด้วย ซึ่งแต่ละโหมดก็จะมีข้อดีแตกต่างกันไป ดังนี้

Auto Mode : เป็นโหมดที่เครื่องปรับอากาศจะสลับการทำงานโดยอัตโนมัติระหว่างการทำความเย็น (Cooling Mode) หรือลดความชื้น (Dry Mode) การใช้งานในโหมดนี้เหมาะกับการรักษาระดับอุณหภูมิห้องไม่ให้เกิดความเย็นหรือร้อนจนเกินไป

Cool Mode : หรือโหมดทำความเย็น เป็นโหมดที่ทำงานตามค่าที่ตั้งไว้ เช่น ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา เครื่องปรับอากาศจะทำงานตามอุณหภูมิที่กำหนด เมื่อถึงอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ คอมเพรสเซอร์ด้านนอกก็จะตัดการทำงาน เป็นโหมดที่ส่วนใหญ่นิยมใช้งาน เนื่องจากสามารถเลือกระดับความอุณหภูมิและระดับความเย็นได้ตามความต้องการ เหมาะแก่การใช้งานโดยทั่วไปมากเนื่องจากสภาพอากาศในเมืองไทยค่อนข้างร้อน การใช้โหมดทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศจึงเหมาะสมเป็นอย่างมากทั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น การพักผ่อน หรือการนอนหลับ

Dry Mode : หรือโหมดลดความชื้น เหมาะกับการใช้งานภายในห้องที่มีความชื้นมาก โดยหลักการทำงานของโหมดนี้คือเครื่องปรับอากาศจะดูดความชื้นในอากาศเข้าไปในเครื่อง และกลั่นตัวเป็นไอน้ำปล่อยทิ้งไป โหมดนี้มีอัตราการกินไฟต่ำ แต่ไม่ช่วยให้อุณหภูมิห้องเย็นลงได้

Fan Mode : หรือโหมดพัดลม ที่เปรียบเสมือนเปิดพัดลมหนึ่งตัว โดยโหมดนี้จะไม่ช่วยลดอุณหภูมิห้อง แต่จะช่วยให้ห้องมีอากาศถ่ายเทเพราะมีอากาศจากเครื่องปรับอากาศไหลเวียนอยู่ในห้อง เหมาะแก่การเปิดใช้งานในวันที่อากาศเย็นสบาย นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังมักใช้โหมดพัดลมในช่วงเวลาที่เครื่องปรับอากาศมีกลิ่นอับในตัวเครื่อง เพื่อไล่กลิ่นออกมาจากตัวเครื่อง รวมถึงยังช่วยลดความชื้นสะสมภายในห้องอีกด้วย การใช้โหมดพัดลมจึงช่วยยืดอายุการทำงานของคอยล์เย็น ลดการเกิดปัญหาแอร์เย็นช้า หรือแอร์ไม่เย็นได้เป็นอย่างดี


3. ลดความร้อนในห้องก่อนเปิดแอร์


การเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่ห้องยังร้อนอยู่ จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากการทำงานหนักเพื่อเปลี่ยนอากาศภายในห้องให้เย็นเร็วที่สุด การเปิดพัดลม หรือเปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศร้อน รวมถึงความชื้นภายในห้องออกไป และปล่อยให้อากาศเย็นไหลเข้ามาสักเล็กน้อย จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังประหยัดพลังงานไฟฟ้าไปได้อีกทางหนึ่งด้วย


4. เช็ครอยรั่วในห้อง ไม่ให้ไอเย็นกระจายออกไปข้างนอก


การที่ในห้องมีรอยรั่วนอกจากจะเป็นช่องให้มีการถ่ายเทระหว่างอากาศเย็นภายในห้อง และอากาศร้อนภายนอก ซึ่งจะส่งผลให้ห้องไม่เย็นเท่าที่ควร รวมถึงเครื่องปรับอากาศจะต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยในส่วนของรอยรั่วตามผนัง กระเบื้อง และรอยต่อต่างๆ ควรเช็คตั้งแต่ช่วงก่อสร้าง หรือตกแต่งภายใน เพื่อแก้ไขให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ อีกหนึ่งจุดสำคัญที่ไม่ควรพลาดที่จะเช็ค ก็คือ ช่องฝ้า และในจั่ว ที่จะนำพาลมร้อนเข้ามา เพราะหากแก้ไขหลังจากที่ตกแต่งภายในเรียบร้อยแล้ว อาจยุ่งยากในการแก้ไขภายหลังได้


5. เลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เย็นเร็ว

ทนทาน ประหยัดไฟตั้งแต่แรก


สิ่งที่ง่ายที่สุด และสำคัญที่สุดก็คือการเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เย็นเร็ว ทนทาน และประหยัดไฟ เพราะการเลือกใช้ของที่มีคุณภาพตั้งแต่แรกจะช่วยลดปัญหาที่ตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปรับอากาศระบบ Inverter ที่จะช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้ ด้วยการปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ตั้งไว้ จากนั้นคอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลง เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ตลอดเวลา ต่างจากเครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่ระบบอินเวอร์เตอร์ที่จะค่อยๆ ลดระดับอุณหภูมิลงจนเมื่อถึงระดับอุณหภูมิตามที่กำหนดไว้ คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงานจนกระทั่งห้องอุณหภูมิสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์จึงต่อการทำงานอีกครั้ง อย่างที่เราคุ้นเคยกับคำว่าแอร์ตัด-แอร์ต่อ ทำให้อุณหภูมิภายในห้องไม่สม่ำเสมอ

สำหรับวันนี้ Life and Home ขอแนะนำเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Standard Inverter:  YW Series ที่เพิ่งเปิดตัวและวางจำหน่ายไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา

เครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Standard Inverter : YW Series ได้รับการดีไซน์มาอย่างเรียบง่าย ทันสมัย ที่ให้มากกว่าความสวยงามก็คือ ความทนอึด ที่สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชม. ติดต่อกันได้นาน 5 ปี จ่ายครั้งเดียวทนเกินคุ้ม โดย เครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Standard Inverter : YW Series เป็นเครื่องปรับอากาศระบบ Inverter แท้ทั้งระบบ ประกอบด้วย 4 ชิ้นส่วน คือ

  1. แผงวงจรอัจฉริยะ PAM: ช่วยควบคุมความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์และมอเตอร์โดยการปรับเปลี่ยนความถี่ในการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้พลังงาน
  2. คอมเพรสเซอร์กระแสตรง DC: สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วรอบในการทำงานให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิภายในห้อง ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
  3. วาล์วอิเล็กทรอนิกส์ EEV (Electronic Expansion Valve): ควบคุมอัตราการไหลของสารทำความเย็นให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่สุด
  4. มอเตอร์กระแสตรง: ที่มีความแม่นยำในการควบคุมความเร็วรอบ และเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty

รุ่น Standard Inverter : YW Series


Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Standard Inverter : YW Series ยังมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมที่ทำให้ระบบเครื่องปรับอากาศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้อากาศภายในห้องเย็นสบายมากยิ่งขึ้นด้วย

  • การออกแบบระบบจ่ายลมด้วยเทคโนโลยีเดียวกับใบพัดในเครื่องยนต์เจ็ท (Jetflow) ทำให้สามารถส่งลมไปได้ในระยะไกล
  • การทำงานแบบพลังสูง High Power” เพียงแค่เปิดเครื่องให้ทำงานต่อเนื่องในโหมดพลังสูงเป็นเวลา 15 นาที ก็ช่วยให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการอย่างรวดเร็ว
  • ฟังก์ชั่นที่ทำให้อากาศสดชื่นเหมือนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ด้วยการปล่อยประจุลบตลอด 24 ชั่วโมง จากสารทัวมาลีนซึ่งเคลือบไว้ใต้ช่องจ่ายลม (24 Hour ION)
  • Self Clean Operation ฟังก์ชั่นที่ทำให้คอยล์เย็นแห้งเพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา โดยพัดลมจะทำงานในรอบต่ำเพื่อเป่าลมไล่ความชื้นออกจากตัวคอยล์เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากปิดเครื่อง
  • โดดเด่นด้วยการใช้ Copper 100% เป็นองค์ประกอบของการทำท่อทองแดงทั้งระบบ ป้องกันต่อการกัดกร่อนโดยเฉพาะในพื้นที่ติดทะเล
  • เคลือบ Epoxy Coating เพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากสภาพความเป็นกรด/ด่าง
  • แผงวงจรเคลือบ Silicone ป้องกันความชื้น และแมลง
  • เครื่องทนต่อแรงดันไฟกระชากสูงสุด 470V

Mitsubishi Heavy Duty รุ่น Standard Inverter : YW Series มีขนาด Btu/h ให้เลือกถึง 5 ขนาดตั้งแต่ 9,000, 12,000, 15,000, 18,000 และ 24,000 Btu/h ตามมาตรฐานสากล สามารถเลือกนำไปติดตั้งในห้องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ของห้องที่หลากหลาย รวมถึงมั่นใจได้ว่าเครื่องปรับอากาศ จะทำให้ห้องเย็นเร็ว ทนทาน ประหยัดไฟ คุ้มค่า คุ้มราคา เนื่องจากเป็นรุ่น Standard Inverter ที่ราคาไม่สูง สามารถติดตามรายละเอียดของสินค้าเพิ่มเติมและโปรโมชั่นได้ที่ www.mitsuheavythai.com, Facebook Fanpage : Mitsubishi Heavy Duty Thailand หรือโทร.02-378-9999, 02-378-9901

www.mitsuheavythai.com หรือโทร.02-378-9999, 02-378-9901

Facebook Comments
By Unchisa.P, 24/04/2019
Leave a Reply
Change language:
Instagram API currently not available.
Instagram API currently not available.