Back to home
Elder Society, OTHERS

Sensory Deficits ปรับสิ่งแวดล้อม…เพื่อผู้สูงวัย ดร. วิลเลี่ยม อี. ริชแมน

 

ข้างต้นนั้นคือคำพูดที่เปล่งออกมาด้วยความมุ่งมั่นของ ดร. วิลเลี่ยม อี. ริชแมน กรรมการผู้จัดการ และประธานกรรมการบริหาร จากศูนย์วิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นนำของโลก ที่มุ่งเน้นในเรื่องการรักษาผู้สูงอายุ เบย์เครส ประเทศแคนาดา ณ งานสัมมนาประจำปีของ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) ในหัวข้อการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนระดับนานาชาติ

การมาเยือนของยุค New Age ซึ่งต้องอาศัยการปรับตัวในวัฒนธรรมใหม่ และความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบัน หนึ่งในประเด็นร้อนสำหรับประเทศไทยคือ จำนวนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากนึกไม่ออกว่าจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นมากเพียงใดก็ขอให้เข้าใจตรงกันว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับว่ามีอัตราการเติบโตเป็นที่สามของโลก ดร. วิลเลี่ยมกล่าวว่า “เราควรเห็นจุดนี้เป็นโอกาสที่ดี ที่จะทำให้ ‘ผู้สูงอายุรุ่นต่อไป’ มีการเป็นอยู่ที่ดีไปกว่ารุ่นคุณปู่ของพวกเรา”

 

โดยมี ‘environment’ เป็นปัจจัยสำคัญในการไขปัญหาครั้งนี้ ดร. วิลเลี่ยมกล่าว่า “การจัดการสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ทำให้เกิด barrier ต่อการเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงวัย รวมถึงการทำให้เกิดความสุข และสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์อีกด้วย” พร้อมกล่าวถึงยุทธศาสตร์สำหรับประเทศไทย ที่สามารถอ้างอิงหลักการ The culture change movement ซึ่งเน้นการเคารพสิทธิการตัดสินใจของตัวผู้สูงอายุ ที่จะสามารถเลือกอาหาร และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ดูแลมากเกินไป ท่ามกลาง A homelike environment ที่ประกอบไปด้วย มุมที่เชื่อมต่อกับธรรมชาติ มุมเอาต์ดอร์ที่สามารถรับฟังเสียงธรรมชาติ และการเชื่อมต่อพื้นที่ที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก รวมถึงสัตว์เลี้ยง หากทุกอย่างนั้นมีครอบครัวคอยสนับสนุน ดูแลอย่างใกล้ชิดก็จะทำให้สถานที่นั้นเป็นดั่งบ้านที่เติมความสุขให้ผู้สูงวัยได้

I DON’T WANT TO LIVE IN INSTITUTIONS OR HOSPITALS, AND ANY BODY SHOULD NOT HAVE TO.

แต่ทุกอย่างนั้นควรอยู่บนความสมดุลตามความต้องการของผู้สูงวัย ดังนั้นควรจะมีตัวเลือกให้มากพอที่จะสามารถทำให้ทั้งสามปัจจัยสำคัญ กายภาพ จิตใจ และอารมณ์ ลงตัวในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ได้ โรคที่พบมากที่สุดในประเทศไทย Dementia ภาวะสมองเสื่อม ส่งผลให้ระบบประสาทถดถอยลงมากกว่าผู้สูงวัยในวัยเดียวกัน แต่โดยทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น ความเสื่อมในส่วนต่าง ๆ ในร่างกายย่อมตามมาด้วย โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมจึงต้องเอื้ออำนวยต่อผู้สูงวัยเพื่อให้พวกเขามีความ
‘active’ ในการใช้ชีวิต

 

สำหรับการเดินที่ช้าลง และความเหนื่อยที่มาเยือนง่ายขึ้น การออกแบบจึงต้องคำนวณพื้นที่สำหรับติดตั้งราวจับ และเก้าอี้นั่งพักที่มีขนาด และความสูงที่เหมาะสมตลอดทางเดิน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการมีทางเดินระยะไกล, dead-ends และประตูปิดตาย ต้องมีป้ายทางออกบอกทิศทางอย่างแม่นยำ รวมถึงการเลือกใช้สีที่เหมาะสมเพื่อความชัดเจนของป้าย พร้อมกับเซนเซอร์ควบคุมการเปิด – ปิดไฟอัตโนมัติ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น

การเลือกวัสดุที่ทำหน้าที่ Multisensory Cues เช่นพื้น และเฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสัมผัสเฉพาะกระตุ้นการรับรู้แก่ผู้สูงวัยได้ สามารถเลือกใช้พื้นชนิดเดียวกันอย่างต่อเนื่องให้รับรู้ว่าเป็นพื้นที่ส่วนเดียวกัน หรืออาจประดับรูปถ่ายคนในครอบครัว หรือตัวผู้สูงวัยเองตลอดทางเดินให้เกิดความคุ้นเคย ซึ่งภายในห้องอาจมีการคำนึงถึงการใช้วัสดุที่สามารถป้องกันเสียงสะท้อน เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้สูงวัยสะดวกในการรับฟังอย่างชัดเจน ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน และสุดท้ายการเข้าสังคมแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น การพูดคุยโต้ตอบเป็นการกระตุ้นให้สมองทำงานเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมทางศาสนา หรือการพบเจอเพื่อน และครอบครัวต่างเป็นการพัฒนาการ ในด้านกายภาพ จิตใจ และอารมณ์ได้เช่นกัน

ดร. วิลเลี่ยม อี. ริชแมนกล่าวปิดท้ายถึงหนทางสู่สังคมผู้สูงวัยว่า “To get people growing old every opportunities to grow”  โดยไม่ละเลยพื้นฐานที่เรียบง่าย ความเป็นอิสระทางความคิด ท่ามกลาง A homelike environment ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดเป็นความยั่งยืนทางสังคม ที่มาจากการป้องกันทางกายภาพ จิตใจ และอารมณ์ให้ประชากรผู้สูงวัยที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ

 

Story นิชาภา โตยิ่งเจริญ I Photo ฝ่ายภาพประชาสัมพันธ์
Seminar Annual International Well-being and Sustainability
Forum, Bangkok 2018 sponsored by MQDC

Facebook Comments
By Oom, 11/02/2018
Leave a Reply
Change language:
Instagram API currently not available.
Instagram API currently not available.