Back to home
IDEAS FOR HOME

Inspiration Nature เป็น อยู่ “หน้าผา”

แน่นอนว่าการคงไว้ซึ่งธรรมชาติ ย่อมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งให้น่าอยู่มากกว่าการทำลายอย่างแน่นอน ฉะนั้น Ideas for Home จึงได้หยิบไอเดียงานดีไซน์ ที่หน้าผา เขาใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันระหว่าง “มนุษย์” กับ “ธรรมชาติ” อย่างยั่งยืนหากผู้อ่านอยากมีบ้านพักตากอากาศสักหลังในบั้นปลายหนึ่งของชีวิต เพราะไม่เพียงภูมิทัศน์ที่ดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติอย่างแท้จริงแล้ว ทว่าการเกิดขึ้นมาของสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะด้วยรูปทรง สีสัน หรืออื่นๆ ในบริบทของสถานที่ กลับนำไปสู่ธรรมชาติบันดาลสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าทึ่ง


แน่นอนว่าการคงไว้ซึ่งธรรมชาติ ย่อมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งให้น่าอยู่มากกว่าการทำลายอย่างแน่นอน ฉะนั้น Ideas for Home จึงได้หยิบไอเดียงานดีไซน์ ที่หน้าผา เขาใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันระหว่าง “มนุษย์” กับ “ธรรมชาติ” อย่างยั่งยืนหากผู้อ่านอยากมีบ้านพักตากอากาศสักหลังในบั้นปลายหนึ่งของชีวิต เพราะไม่เพียงภูมิทัศน์ที่ดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติอย่างแท้จริงแล้ว ทว่าการเกิดขึ้นมาของสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะด้วยรูปทรง สีสัน หรืออื่นๆ ในบริบทของสถานที่ กลับนำไปสู่ธรรมชาติบันดาลสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าทึ่ง

อาคารทรงกล่องที่แทรกตัวท่ามกลางแนวหินสลับซับซ้อน ทำหน้าที่เสมืองดวงตะเกียงที่ให้แสงสว่างในเหมืองหินอ่อนในอดีตเคยถูกปล่อยทิ้งร้างมานับสิบปี เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ ที่ประทับใจในบรรยากาศที่ผิดไปจากความชอุ่มของเขาใหญ่ สะท้อนผ่านแนวความคิดอันลื่นไหลสร้างสภาวะของการอยู่ร่วมกันระหว่างรูปทรงประดิษฐ์และรูปทรงทางธรรมชาติอย่างกลมกลืน ผ่านการออกแบบโดยคุณกวิศ โกอุดมวิทย์ และคุณอนันต์ ตันตาศนี กรอบมุมมองผ่านความใสของผนังกระจกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดเชื่อมพื้นที่ภายในเข้ากับความเป็นธรรมชาติแวดล้อมรอบนอก เผยให้เห็นก้อนเมฆที่เคลื่อนลอยผ่านไปในแต่ละวัน สีสันของดอกไม้ที่เบ่งบานบ้างร่วงโรย พรรณไม้ที่ผลัดใบตามฤดูกาล กระทั้งแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเมฆตามช่วงเวลาให้เกิดมิติของเงาพาดผ่านตามสถาปัตยกรรม ก่อให้มนุษย์เกิดความรู้สึกต่อธรรมชาติอย่างลึกซึ้งคล้ายถูกหลอมรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของบริบทเหล่านั้นอย่างนอบน้อม การอยู่ร่วมกันระหว่าง “มนุษย์” กับ “เหมืองหินอ่อนเก่า” ในแง่ของสุขภาพ

แนวคิดในการออกแบบรีสอร์ต ที่เกิดขึ้นในลักษณะของการเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่าง “มนุษย์” กับ “ธรรมชาติ” โดยมีงานสถาปัตยกรรมเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงให้เกิดการเข้าใกล้กัน นอกจากจะไม่ทำลายแล้วยังคงสภาพดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดด้วย ด้วยสภาพเดิมที่เป็นหลุมขนาดใหญ่ สถาปนิกจึงทำหน้าที่เพียงอุดร่องรอยตามรูด้วยก้อนหิน และล้างทำความสะอาดก่อนจะทาด้วยน้ำยาเคลือบหินเพื่อป้องกันเศษฝุ่นละอองที่จะลอยขึ้นสู่อากาศ ก่อนจะฉาบทับด้วยซีเมนต์และเกลี่ยด้วยดินแดงอีกครั้งเพื่อให้กลมกลืนไปกับบรรยากาศของเหมืองหินแห่งนี้ โดยมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ใช้สลิงร้อยลูกปัดเพชรตัดหินเพื่อให้เกิดรูปทรงเลขาคณิต ผสานไปกับพื้นผิวของหินอ่อนบางส่วนที่ดูตะปุ่มตะป่ำอันเกิดจากรอยร้าวโดยฝีมือของธรรมชาติ เนื่องจากเป็นหินอ่อนธรรมชาติแน่นอนว่าย่อมไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย หรือหากมีแร่ธาตุก็ยิ่งทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เร็ว ความแข็งแรงของเหมืองหินอ่อน

ด้วยลักษณะทางภูมิทัศน์ของเหมืองหินอ่อนที่ส่งผลต่อการออกแบบและก่อสร้างสถาปัตยกรรม ทำให้ตำแหน่งของการวางอาคารนั้นจึงถูกกำกับอย่างละเอียดหน้าไซต์งานอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้บ้านพักแต่ละหลังได้บรรยากาศที่ดีในทุกมุมมอง ชั้นหินที่แข็งแรงอยู่แล้วเป็นจึงทำให้ไม้ต้องเจาะเสาเข็มเพื่อยึดอาคารไว้กับแผ่นดินเหมือนงานออกแบบทั่วไป ระบบฐานรากที่เป็นแบบตีนเป็ดวางและฝังพุกเหล็กยึดไว้เท่านั้น ฐานรากแรกได้เริ่มวางลงบนชั้นหินอ่อนชะง่อนหินผาที่เรียกว่า Grand Villa 3 หลัง ด้วยขนาด 90 ตารางเมตร เมื่อมองลึกลงไปหุบเหมืองจะพบกับวิลล่าขนาด 40 ตารางเมตร ที่กระจายตัว 5 หลัง ถูกออกแบบให้พิงไปกับหินอ่อน เนื่องจากบริบทเดิมของพื้นที่จะมีลักษณะเป็น 3 มิติ มีทั้งแนวตั้ง แนวนอน ยื่นสลับไปมา ไม่เหมือนที่ดินสร้างบ้านทั่วไปที่มีลักษณะเรียบแบน ขนาดของไซต์จึงค่อนข้างวัดยากมาก สถาปนิกจึงจำเป็นต้องมองกลับไปที่วิธีเบสิก ก็คือสร้าง ม็อกอัพที่มีขนาดเท่าของจริง ที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องลูกบาศก์ จากนั้นก็ให้ช่างนำไปว่างบนสเปซ และทำการบิดปรับมุมเพื่อให้ตามตำแหน่งตามที่ต้องการ การตกแต่งภายในให้กลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบการจัดองค์ประกอบเพื่อการใช้สอยและเชื่อมต่อกับธรรมชาตินั้น หน้าผา เขาใหญ่ ล้วนเกิดขึ้นจากมุมมอง ฉะนั้นแต่ละยูนิตที่เห็นจึงจะคล้ายกับโคมไฟที่วางอยู่ในเหมืองหินอ่อน วัสดุหลักจึงประกอบไปด้วย โครงเหล็ก และกระจก จะเห็นว่าอาคารหลังหนึ่งไม่ได้มีแค่เพียงพื้นที่สี่เหลี่ยมเท่านั่น แต่สถาปนิกยังต้องการสร้างความกลมกลืนกับวิถีของธรรมชาติของหินอ่อนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผนังอาคาร และยังลดทอนความหนาทึบของกำแพงสีเทาบางส่วน ที่ให้ความรู้สึกที่ดูจะแข็งกร้าวจนเกินไป ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยปกคลุมอยู่หน้าดิน ได้ถูกนำไปร่อนจนเกิดเป็นเม็ดสีก่อนจะนำไปผสมกับปูน และนำไปฉาบลงบนผิวอาคารเรียกได้ว่าธรรมชาติบันดาลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของวัสดุในงานสถาปัตยกรรมอย่างลงตัว การแก้ปัญหาเรื่องความร้อน แม้จะอยู่ท่ามกลางเหมืองหิน

จะเห็นว่าพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่ ยังคงบรรยากาศของความเป็นหินและน้ำ ที่ดูไม่ชอุ่มมาก แต่ยังคงเพิ่มบรรยากาศชวนผ่อนคลายด้วยมิติทางเสียงจากน้ำตก เพื่อไม่ให้บริบทโดยรวมวังเวงจนเกินไป อีกทั้งในเรื่องของความร้อนนั้น ตัวอาคารยังประกอบด้วยโครงสร้างของหลังคา 2 ชั้น ที่เป็นเมทัลชีท ชั้นบนที่เสริมด้วยตะแกรงเหล็กโรยด้วยหินกรวด พร้อมติดตั้งสปริงเกอร์ที่ช่วยลดความร้อนได้ระดับหนึ่ง และยังอาศัยลมที่ผ่านช่องว่างใต้หลังคาช่วยระบายความร้อนได้ดีพอสมควรในยามกลางวันที่แดดร้อนจัด นอกจากนี้ภายในห้องพักยังเต็มไปด้วยงานศิลปะทั้งภาพวาดและภาพพิมพ์ จากศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนพื้นที่ภายนอกก็มีงานประติมากรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งหมดนี้ไม่เพียงกระตุ้นให้ผู้มาเยือนเสมือนได้หลุดเข้าสู่ห้วงหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น แต่ผลงานศิลปะยังเข้ามาเติมเต็มบริบทโดยรวมได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

Story : ศิวนาถ เสนาประทุม
Photographer : ชยพล ปาระชาติ, กรวิชญ์ ศิริวิวัฒน์
Place : Nhapha Khao Yai Resort โทร.09-3636-9999,0-4493-8806
ขอขอบคุณข้อมูล : คุณกวิศ โกอุดมวิทย์

Facebook Comments
By Oom, 10/04/2017
Leave a Reply
Change language:
Instagram API currently not available.
Instagram API currently not available.